o

o

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความสามารถในการรองรับปริมาณเพิ่มเติมในอนาคต Affordability

Affordability 
เป้าหมายนี้บางครั้งถูกเรียกว่า Cost-effectiveness จุดประสงค์หลักของเป้าหมายนี้ก็คือ  การทำให้เน็ตเวิร์กรองรัรบปริมาณทราฟฟิกให้ได้มากที่สุดภายในต้นทุนการเงินหรืองบประมาณที่มีอยู่
    ใน Campus Networks ต้นทุนดังกล่าวมักไม่สูงนัก  เพราะเน็ตเวิร์กประเภทนี้มักใช้งานสวิตซ์เป็นส่วนใหญ่  แต่สำหรับใน Enterprise Networks ที่ประกอบด้วย Wide Area Network เป้าหมายด้าน Availability (ความต่อเนื่องของการให้บริการของระบบเน็ตเวิร์ก)  มักถือว่าเป็นเป้ามหายที่สำคัญกว่าเป้าหมายด้าน Affordability องค์กรโดยทั่วไปจึงมักหาทางทำให้เป้าหมายด้าน Availability ดำเนินไปพร้อมๆ กับด้าน Affordability ให้ได้ เพราะค่าใช้จ่าย ในแต่ละเดือนสำหรับการเช่าเซอร์กิตไม่ว่าจะเป็น Frame Relay, X.25 หรือ  Leased Line ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่มิใช่น้อย  ในการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับ WAN Circuit เราสามารถทำได้โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น
  • ใช้ Routing Protocol ที่ก่อให้เกิดทราฟฟิกบน WAN Circuit น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
  • ลดปริมาณทราฟฟิกบน WAN Circuit ด้วยการใช้ฟีเจอร์อย่างเช่น การบีบอัดข้อมูล, Voice Activity Detection (VAD)
  • ใช้งาน WAN Circuit ให้คุ้มค่า เช่น ใช้รับส่งสัญญานเสียง (Voice Signal) ไปด้วย เพื่อประหยัดค่าโทรศัพท์ทางไกล
Manageability
การจัดการเน็ตเวิร์กถือเป็นประเด็นด้านเทคนิคประการหนึ่ง  ที่ผู้ออกแบบเน็ตเวิร์กขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่หรือใหญ่มากจำเป็นต้องคำนึงถึง  มาตรฐาน ISO (International Standard Organization) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเน็ตเวิร์กที่ดีควรประกอบไปด้วยแนวทางการจัดการ 5 ประเภทต่อไปนี้ (ในทางปฏิบัติ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรสามารถจัดการได้ทั้ง 5 ประเภท  ปัจจัยที่มีผลต่อการทำให้การจัดการทั้ง 5 ประเทภเกิดขึ้นได้ ก็คือ งบประมาณ)
  • Configutation Management
  • Performance Management
  • Fault Management
  • Security Management
  • Accounting Management
    

ความสามารถในการสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูล (Security)

 Security
Security หมายถึง  ความสามารถของระบบเครือข่ายในการปกป้องทรัพยากระต่างๆ ภายในไว้  ให้ผู้ใช้ได้รับเฉพาะข้อมูลหรือใช้งานทรัพยากรได้ตามที่ตนมีสิทธิเท่านั้น Security นี้เป็นประเด็นที่กินความหมายได้กว้างมาก  กว่างกว่าประเด็นด้านเทคนิคอื่นๆ เพราะเกี่ยวพันกันตั้งแต่อุปกรณ์เน็ตเวิร์กในระดับล่าง  ไปจนถึงระดับของระบบปฏิบัติการ  และระดับแอปพลิเคชั่น  อีกทั้งยังขยายความรวมไปถึงขอบเขตของการปกป้องความปลอดภัยด้วย ทั้งในอินทราเน็ต  อินเทอร์เน็ต  หรือเอ็กซ์ทราเน็ต  หัวข้อนี้สามารถถูกกล่าวแยกออกเป็นหนังสือได้หลายเล่มทีเดียว 
     พึงระลึกไว้อย่างหนึ่งว่า Security ที่ดีนั้นจะต้องเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้ ใช้งานระบบได้อย่างสะดวกด้วย  และระบบงานด้านธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุดหรือปรับเปลี่ยนมากนัก  และกระทำได้โดยไม่ส่งผลกระทบมากนักกับความสามารถด้านอื่นๆ เช่นเรื่องของ Performance และความง่ายในการทำงานของผู้ใช้บนเน็ตเวิร์ก

Usability
เน็ตเวิร์กที่ดีควรทำให้ผู้ใช้ใช้งานทรัพยากรต่างๆ ได้โดยง่ายไม่ซับซ้อน  คุณสามารถเพิ่มการให้บริการอย่างเช่น Dynamic Host Configurarion Protocal (DHCP) หรือ Windows Internet Naming Services (WINS), DNS ที่ดีเข้าไป  เพื่อทำให้ผู้ใช้ใช้งานเน็ตเวิร์กได้ง่ายขึ้น

Adaptability 
เน็ตเวิร์กที่ดีควรสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จำเป็น หรือเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานมากขึ้น  ตัวอย่างเช่น  ควรรองรับ Voice, Qos (Quality of Service) เหล่านี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่  เพียงแค่เพิ่มเติมการ์ดโมดูลเข้าไป

ความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลต่างๆ อย่างรวดเร็ว (Performance)



การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงาน (performance) ของเน็ตเวิร์ก  โดยทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เน็ตเวิร์กที่มีอยู่  การวิเคราะห์เน็ตเวิร์กที่มีอยู่จะช่วยให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง  เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายด้าน Performance เป้าหมายด้าน performance กับเป้าหมายด้าน scalability มักมีความหมายเกี่ยวข้องกัน  เราควรเข้าใจแผนการเติบโตของเน็ตเวิร์กก่อนที่จะวิเคราะห์เป้าหมายด้าน performance
       นิยามเกี่ยวกับ  network performance
     ส่วนใหญ่แล้ว  จากประสบการณืที่พบ  กลุ่มลูกค้าทั่วไปมักไม่สนใจรายละเอียดของ network performance ไปมากกว่า "ให้มันทำงานได้โดยที่ผู้ใช้ไม่บ่น" เท่านั้นเอง ในความเป็นจริงแล้ว  เราควรให้ความสนใจกับข้อกำหนดหรือความต้องการที่เจาะจงลงไป  โดยมีพื้นฐานจากข้อตกลงด้านระดับการให้บริการ (service level agreement: SLA) ที่คุณได้ทำไว้กับลูกค้า  (ซึ่งมีผลต่อรายได้ที่คุณจะได้รับด้วย  ถ้าหาก SLA มีระดับความยากมาก) ลิสต์รายการต่อไปนี้แสดงคำศัพท์ต่างๆ ที่มัถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงเมื่อกำลังวิเคราะห์ performance ของเน็ตเวิร์กนั้นๆ
  • ความจุ (แบนด์วิทธ์ : bandwidth)  ความสามารถในการนำพาข้อมูลของเซอร์กิตหรือเน็ตเวิร์ก  โดยทั่วไปจะถูกวัดในหน่วยบิตต่อวินาที (bps) หรือเมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ค่านี้เป็นค่าเฉพาะตัวของเน็ตเวิร์กแต่ละประเภท  ตัวอย่างเช่น เน็ตเวิร์กโทเค็นริง (token ring) มีแบนด์วิดธ์อยู่ที่ 4 Mbps และ 16 Mbps เน็ตเวิร์กอีเทอร์เน็ตก็จะมี  ตั้งแต่ 10 Mbps, 100 Mbps, 1 Gbps และ 10 Gbps เป็นต้น  ค่านี้มักถูกเรียกอย่างง่ายๆ ภาษาชาวบ้านว่า  ความเร็ว (speed) ของเน็ตเวิร์กประเภทนั้นๆ 
  • เปอร์เซ็นการใช้งาน (utilization) เป็นเปอร์เซ็นต์ของแบนวิดธ์ทั้งหมดที่ถูกใช้งานอยู่
  • เปอร์เซ็นการใช้งานที่เหมาะสม (optimum utilization) เปอร์เซ็นการใช้งานเน็ตเวิร์กโดยเฉลี่ยสูงสุดก่อนที่จะถูกพิจารณาว่าเน็ตเวิร์กอิ่มตัว (saturated)
  • ทรูพุต (throughput) ปริมาณของข้อมูลที่รับส่งระหว่างโหนดได้สำเร็จโดยไม่มีข้อผิดพลาดต่อหนึ่งหน่วยเวลา (มักเป็นหน่วยข้อมูลต่อวินาที)
  • ประสิทธิภาพ (efficiency) เป็นตัววัดว่าต้องใช้ความพยายามเท่าใดในการทำให้เกิดปริมาณของทรูพุตที่กำหนด
  • เวลาหน่วง (deley, latency) ระยะเวลาที่นักจากเฟรมเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับส่งจากโหนดต้นทางจนกระทั่งเดินทางไปถึงโหนดปลายทางในเน็ตเวิร์ก
  • เวลาตอบสนอง (responce time) ระยะเวลาระหว่างการร้องขอการให้บริจากเน็ตเวิร์กไปจนถึงเวลาที่ได้รับการตอบสนองกลับ

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องของเน็ตเวิร์ก ( Availability )

    
    Availability หมายถึง  ปริมาณของเวลาที่เน็ตเวิร์กพร้อมรองรับการใช้งานของผู้ใช้และบ่อยครั้ง  ถือได้ว่า Availability เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการออกแบบเน็ตเวิร์กให้กับลูกค้า  เราสามารถกล่าวถึง Availability ได้ในฟอร์แมตของเปอร์เซ็นต์ Uptime เทียบต่อปี  ต่อเดือน  ต่อวัน  หรือต่อชั่วโมงโดยเทียบกับเวลาทั้งหมดในช่วงขณะนั้น  ตัวอย่างเช่น  ในเน็ตเวิร์กที่ต้องให้บริการ 27 ชั่วโมง 7 วันต่อหนึ่งสัปดาห์  ถ้าเน็ตเวิร์กนั้นมี Uptime 165  ชั่วโมงในหนึ่งสัปดาห์ซึ่งมี 168  ชั่วโมง  เราสามารถกล่าวได้ว่าค่าของ Availability เป็น 98.21 เปอร์เซ็นต์

ความสามารถในการรองรับการเพิ่มขยายได้ในอนาคต (ScalabilitY)


Scalability หมายถึง เน็ตเวิร์กที่ออกแบบขึ้นมาสามารถรองรับการขยายตัวหรือเติบโตได้มากน้อยเพียงใด  องค์กรขนาดใหญ่กำลังเพิ่มปริมาณผู้ใช้ที่ต้องใช้งานระบบเน็ตเวิร์ก  แอปพลิเคชันบนเน็ตเวิร์กที่กำลังเพิ่มขึ้น  ไซต์สาขาที่เพิ่มเติม  และเน็ตเวิร์กคอนเน็กชันที่เชื่อมต่อไปยังภายนอกที่ขยายตัวขึ้น  เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการออกแบบให้มี Scalability 
     ถ้าเป็นไปได้  ในฐานะผู้ออกแบบเน็ตเวิร์กให้กับลูกค้า  เราควรถามลูกค้าเพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้  ตัวอย่างคำถามที่ควรถามเช่น  จะมีไซต์เพิ่มขึ้นหรือไม่ในปีถัดไปหรืออีกสองปีถัดไป,เน็ตเวิร์กที่ไซต์ใหม่ (ถ้ามี) จะต้องรองรับปริมาณผู้ใช้มากน้อยแค่ไหน  ในอีกหนึ่งหรือสองปีข้างหน้า จะมีผู้ใช้ที่ต้องเข้าถึงเน็ตเวิร์กที่ส่วนกลางมาน้อยแค่ไหน  และจะมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือโฮสต์ถูกเพิ่มเข้าไปในเน็ตเวิร์กทั้งหมดมากน้อยแค่ไหนในอีกหนึ่งหรือสองปีข้างหน้า

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ข้อควรคำนึงในการออกแบบเน็ตเวิร์ก


ข้อควรคำนึงต่างๆ ต่อไปนี้ควรได้รับการพิจารณาเมื่อกำลังออกเเบบเน็ตเวิร์ก  ได้แก่

การออกแบบเน็ตเวิร์กในลักษณะโครงสร้างตามลำดับชั้น (Hierarchical Design)

เน็ตเวิร์กโดยทั่วไปควรได้รับการออกแบบในลักษณะมีโครงสร้างตามลำดับชั้น  ประกอบไปด้วยเลเยอร์ที่เรียกว่า Core Layer, distribution Layer และ Access Layer ตามลำดับ  เลเยอร์ที่กล่าวนี้เป็นเลเยอร์ในของการออกแบบเน็ตเวิร์ก  ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเลเยอร์ที่กล่าวมาในหัวข้อ OSI Model ข้างต้น  การแบ่งเน็ตเวิร์กออกเป็นเลเยอร์ต่างๆ ข้างล่างนี้จะทำให้ง่ายตอ่การเลือกใช้อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก  การวางแฟนเรื่องของการเซตคอนฟิกูเรชั่น  และการอิมพลีเมนต์ฟีเจอร์ต่างๆ  ที่เหมาะสม
    รูปถัดไปแสดงโมเดลของ Core, Distribution และ Access Layer
รูปโมเดลข้างต้นนี้ ประยุกต์ใช้ได้กับทั้งการออกแบบ Campus Network และ Wide Area Network

เรื่องของ LAN Segmentation

    LAN Segmentation  หมายถึงการแบ่ง LAN ออกเป็นเน็ตเวิร์กส่วนย่อยๆ ซึ่งเรียกว่าแบ่งเป็น "เซกเมนต์(segment)" โดยใช้อุปกรณืเน็ตเวิร์กต่างๆ ได้แก่ บริดจ์/สวิตซ์ และเร้าเตอร์ ซึ่งแต่ละแบบนั้นจะมีผลต่อเรื่องของ Collision Domain และ Broadcast Domain ต่างๆ กัน
     คำว่า LAN Segmentation นั้นเป็นคำศัพท์ที่ติดมาจากยุคแรกๆ ของการมีระบบเน็ตเวิร์กที่สมัยนั้นยังมีการใช้สายโคแอกเซียล (coaxial cable) แบบ 10BASE2 และสายิีเทอร์เน็ตอย่างหนา (Thick ethernet) แบบ 10BASE5 โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันบนสายโคแอกเชียลชุดเดียวกันโดยใช้หัวต่อแบบ BNC จะถูกเรียกว่า เชื่อมต่อกันบน "เซกเมนต์" เดียวกัน  และเมื่อหมดยุคของ 10BASE2 เข้ามาสู่ยุคความรุ่งเรืองของ 10BASET ซึ่งใช้สาย UTP ต่อจากฮับ (hub) ลากเข้ามายังแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ คำศัพท์ว่าเซกเมนต์นี้ก็ยังถูกนำมาใช้อยู่ โดยในคราวนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกับฮับตัวเดียวกันจะถูกเรียกว่าอยู่ภายใน"เซกเมนต์" เดียวกัน  สาเหตุที่ยังเรียกว่า "เซกเมนต์" อยู่ก็เพราะ  ภายในฮับมี Backplane หรือบัสหลักภายในที่ทุกๆ พอร์ตยังต้องคอนเน็กเข้ามาและสื่อสารกันบน Backplane เดียวกัน

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของ LAN,Campus Network และ Wide Area Network

 
Campus Network
     LAN และ Campus Network มีความหมายใกล้เคียงกัน โดยหมายถึงเน็ตเวิร์กที่เชื่อมต่ออยู่ภายในบริเวณเดียวกัน  หรือเน็ตเวิร์กที่เชื่อมโยงระหว่างอาคารสำนักงานที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของ LAN ก็คือ เน็ตเวิร์กทั้งหมดของบริษัทหนึ่งที่อยู่ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเดียวกันซึ่งอาจอยู่ในชั้นเดียวกันหรือมีหลายชั้นก็ได้  ส่วนตัวอย่างของ Campus Network ก็คือเน็ตเวิร์กของมหาวิทยาลัยที่เชื่อมโยงอาคารต่างๆ ภายในบริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน  อุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่ภายใน LAN และ Campus Network จะเป็นขององค์กรนั้นๆ เองทั้งหมด


     Wide Area Network หมายถึง การเชื่อมต่อระหว่างเน็ตเวิร์กแต่ละส่วนที่อยู่ห่างไกลกันออกไปโดยผ่านทางเครือข่ายชุมสายของผู้ให้บริการ (service provider) ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงเน็ตเวิร์กจากสำนักงานใหญ่กับเน็ตเวิร์กของสำนักงานแต่ละสาขาเข้าด้วยกันโดยผ่านทางเครือข่ายเฟรมรีเลย์  ในการเชื่อมต่อผ่าน WAN ผู้รับผิดชอบด้านเครือข่ายขององค์กรต้องขอใช้บริการต่างๆ เช่น บริการเชื่อมต่อผ่านทางเฟรมรีเลย์ (Frame Relay), คู่ส่ายวงจรเช่า (Leased Line) หรือ ISDN จากบรรดาผู้ให้บริการ  ซึ่งในบ้านเราก็มีอยู่หลายที่ที่สามารถให้บริการได้เช่น  บริษัทยูคอม  ดาต้าเน็ต  การสื่อสารแห่งประเทศไทย และ ทศท. เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเเบ่งโปรโตรคอลออกเป็น 7 Layer ตามมาตรฐาน OSI


ดังที่ได้ทราบกันว่าโปรโตคอลหมายถึง  ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่ทำงานบนระบบเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดๆ ที่จะรับส่งข้อมูลกันได้ควรจะมีการสร้างความเข้าใจต่อกันเกี่ยวกับฟอร์แมตของข้อมูลและสถานะการทำงานต่างๆ แต่เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ ภายในข้อกำหนดที่จะทำให้การสื่อสารระหว่างเครื่องสองเครื่องหรือมากว่าสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี มีอยู่หลายองค์ประกอบด้วยกัน และเป็นการยากที่จะมีผู้ผลิตรายไหนที่สามารถสร้างองค์ประกอบต่างๆ ขึ้นมาได้ด้วยตนเองทั้งหมด ดังจะได้เห็นจากตัวอย่างการทำงานของแต่ละเลเยอร์ดังนี้  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแต่ละเลเยอร์นั้นมักจะมีผู้ชำนาญเฉพาะทาง เข้ามารับผิดชอบในการผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ขึ้นมาทำงาน
      -ในระดับ Physical Layer ซึ่งเป็นระดับล่างสุดที่เกี่ยวข้องกับสายเคเบิลและการ Wiring สายโดยตรงเราก็จะต้องมีผู้ผลิตสายเคเบิลประเภทต่างๆ ขึ้นมา อย่างเช่น สายไฟเบอร์ออปติก สาย UTP CAT5, CAT8E และ CAT6 ผู้ผลิตเหล่านี้ก็อย่างเช่น AT&T, AMP เป็นต้น นอกจากนั้นเลเยอร์นี้จะกำหนดมาตรฐานในการรับส่งสัญญาณทางไฟฟ้า (Electrical Signal) บนสาบเคเบิ้ลนั้นๆ ด้วย เช่น ส่งด้วยการหักล้างหรืออาศัยผลต่างของสัญญาณทางไฟฟ้า (ที่ใช้ในสาย UTP) หรือส่งด้วยลำแสง (ที่ใช้ในสายไฟเบอร์) องค์กรที่กำหนดมาตรฐานดังกล่าวนี้ คือ IEEE

หน้าที่ของ โมเดลมาตรฐาน OSI 7 เลเยอร์



หน้าที่ของแต่ละเลเยอร์
Application Layer
    เป็นเลเยอร์ที่กำหนดอินเตอร์เฟชระหว่าแอปพลิเคชั่นที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์กับซอฟต์แวร์สื่อสารต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์  ตัวอย่างเช่น เว็บเบราเซอร์ถือว่าเป็นแอปพลิเคชั่นที่ทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์  เมื่อมันต้องการรับส่งข้อมูลเวบเพจกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์  มันจะอาศัยความสามารถของเลเยอร์ 7 ในการอินเตอร์เฟซกับซอฟต์แวร์สื่อสารในเลเยอร์ต่างๆ ระดับล่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเว็บเพจที่มันต้องการ

โครงสร้างการเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology)

โครงสร้างการเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology)
รูปแบบโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology)

      รูปแบบโครงสร้างแบบดาว (Star Topology) ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานเป็นอย่างมาก ซึ่งระบบจะวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ศูนย์กลาง  โดยจะมีอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุด เข้ามาที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรงในการรับและส่งข้อมูล เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำการสอบถาม(Polling) อุปกรณ์ที่จะติดต่อด้วยก่อนเสมอ การที่ไม่มีอุปกรณ์ เช่น คอนเซ็นเทรเตอร์คั่นกลางระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ที่เหลือทำให้เซิร์ฟเวอร์ต้องทำงานหนักขึ้นรูปแบบโครงสร้างแบบดาว

อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครื่องเซร์ฟเวอร์ Server

เซิร์ฟเวอร์ (Server)  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะ สูง และมีฮาร์ดดิสก์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ computer network





เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)
     เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญ ในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย   จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน  เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
     การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น และการแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้